วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

บทที่ 2 "โลกและการเปลี่ยนแปลง"

ทฤษฎีการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (Plate tectotic)

  • เสนอโดย : ดร.อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Dr.Alfred Wegener) ชาวเยอรมัน 




ดร.อัลเฟรด เวเกเนอร์






  • ทฤษฎี แต่เดิมแผ่นดินบนโลกเป็นแผ่นดินผืนเดียวกัน เรียกว่า พันเจีย (Pangaea) หรือที่แปลว่า "แผ่นดินทั้งหมด" 
  • 200 ล้านปีก่อนพันเจียแยกออกเป็น 2 ทวีปใหญ่ ได้แก่ ลอเรเซีย ทางเหนือ และทวีปกอด์นาวา ทางใต้
  • ต่อมากอนด์วานาแตกออกเป็น อินเดีย อเมริกาใต้และแอฟริกา ส่วนออสเตรเลียยังคงเป็นส่วนหนึ่งของกอนด์นาวา











  • 65 ล้านปีก่อนมหาสมุทรแอตแลนติกแยกตัวกว้างขึ้น ทำให้แอฟริกาเคลื่อนตัวห่างออกจากอเมริกาใต้
  • ต่อมายุโรปและอเมริกาเหนือแยกออกจากกัน โดนอเมริกาเหนือโค้งเข้าเชื่อมกับอเมริกาใต้ และออสเตรเลียแยกออกจากแอนตาร์กติกา

หลักฐานสนับสนุนทฤษฎีของเวเกเนอร์

  • รอยต่อของแผ่นธรณีภาค รูปร่างของทวีปบางทวีปเชื่อมต่อกันได้พอดี








  • ความคล้ายคลึงกันของกลุ่มหิน และแนวภูเขา อเมริกาใต้ แอนตาร์กติกา แอฟริกา ออสเตรเลีย และอินเดีย มีหินที่เกิดในยุคคาร์บอนิเฟอรัส ถึงยุคจูแรสซิกเหมือนกัน
  • หินที่เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนจากธารน้ำแข็ง
  • ซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ พบซากดึกดำบรรพ์ 4 ชนิด คือ โซซอรัส ลีสโทรซอรัส ไซโนกาทัส และกลอสโซพเทรีส ในทวีปที่เคยเป็นกอนด์วานา







หลักฐานอื่นๆที่สนับสนุนการเคลื่อนตัวของทวีป

  • สันเขาใต้มหาสมุทร และร่องลึกใต้สมุทร
  •  อายุหินบริเวณพื้นมหาสมุทร มหาสมุทรแปซิฟิก แอตแลนติก และอินเดีย พบหินบะซอลต์ที่บริเวณหุบเขาทรุดและรอบแยกบริเวณสันเขาใต้มหาสมุทร








  • ภาวะแม่เหล็กโลกบรรพกาล (ร่องรอยสนามแม่เหล็กโลกในอดีต) ศึกษาจากหินบะซอลต์ที่มีแร่แมกนีไทต์

กระบวนการที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี

  • วงจรการพาความร้อน คือ กระบวนการที่สารร้อนภายในโลกไหลเวียนเป็นวงจร ทำให้เปลือกโลกกลางมหาสมุทรยกตัวขึ้น
  • เมื่อสารร้อนไหลเวียนขึ้นมาจะมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น และมุดลงบริเวณร่องลึกใต้สมุทร










แผ่นธรณีของโลก

1.ขอบแผ่นธรณีภาคแยกออกจากกัน - การดันตัวของแมกมาในชั้นธรณีภาค ทำให้เกิดรอยแตกในชั้นหินแข็ง เปลือกโลกตอนบนทรุดตัวกลายเป้นหุบเขาทรุด เมื่อแมกมาเคลื่อนตัวแทรกขึ้นมาตามรอยแยก ทำให้แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรเคลื่อนตัวแยกออกไปทั้งสองข้าง กระบวนการนี้เรียกว่า การขยายตัวของพื้นทะเล และปรากฎเป็นเทือกเขากลางสมุทร

2.ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนเข้าหากัน มี 3 แบบ
  • แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร เกิดเป็นแนวภูเขาไฟกลางมหาสมุทร
  • แผ่นธรณีภาคใตมหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป ทำให้แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรมุดลงใต้แผ่นธรณีภาค ภาคพืนทวีป เกิดรอยคดโค้งเป็นเทือกเขาบนแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป
  • แผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีปชนกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป ส่วนหนึ่งมุดลงอีกส่วนหนึ่งเกยกันอยู่ เกิดเป็นเทือกเขาสูง






3.ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่ผ่านกัน - เพราแต่ละแผนธรณีภาคมีอัตราการเคลื่อนที่ไม่เท่ากัน ทำให้ไถลเลื่อนผ่านมีลักษณะเป็นแนวรอยแตกแคบยาวมีทิศทางตั้งฉากกับเทือกเขากลางมหาสมุทรและร่องใต้ทะเลลึก เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในระดับตื้นๆในบริเวณภาคพื้นทวีป หรือมหาสมุทร








การเปลี่ยนแปลงลักษณะของเปลือกโลก

1.ชั้นหินคดโค้ง - คดโค้งรูปประทุน (anticline) และคดโค้งรูประทุนหงาย (synclin)












2.รอยเลื่อน คือ ระนาบรอยแตกตัดผ่านหินซึ่งมีการเคลื่อนที่ผ่านกัน และหินจะเคลื่อนที่ตามระนาบรอยแตกนั้น แบ่งเป็น 3 ประเภท









วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

บทที่ 1 "โครงสร้างโลก"


การศึกษาโครงสร้างโลก

  • นักวิทยาศาสตร์ใช้หลักฐานที่ค้นพบ รวมถึงทฤษฎี หลักการเทคโนโลยีทางตรงและทางอ้อมมาประกอบ
  • ทางตรง ศึกษาโครงสร้างโลกจากหินภูเขาไฟ และวัดอุณหภูมิในบริเวณเหมืองลึกและภายในหลุมเจาะ
  • ทางอ้อม ใช้คลื่นไหวสะเทือนที่เกิดจากแผ่นดินไหว

คลื่นในตัวกลาง (Body Wave) มี 2 ลักษณะ ได้แก่


  1. คลื่นปฐมภูมิ (P wave) 
  2. คลื่นทุติยภูมิ (S wave) 

คลื่นปฐมภูมิ (P wave)

  • การเคลื่อนไหวแบบอัดขยายในแนวเดียวกับที่คลื่นส่งผ่านไป
  • เคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่เป็นของแข็ง ของเหลว และแก๊ส
  • ความเร็วประมาณ 6 - 8 km/s
  • ทำให้เกิดการอัดหรือขยายตัวของชั้นหิน

คลื่นทุติยภูมิ (S wave)

  • อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนไหวตั้งฉากกับทิศทางที่คลื่นผ่านมีตั้งแนวตั้งและแนวนอน
  • เคลื่อนไหวผ่านได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็ง เท่านั้น
  • ความเร็วประมาณ 3- 4 km/s
  • ทำให้ชั้นหินเกิดการคดโค้ง

การแบ่งโครงสร้างโลกตามลักษณะกายภาพ

แบ่งออกเป็น 5 ส่วน
  1. ธรณีภาค (Lithosphere)
  2. ฐานธรณีภาค (Asthenosphere)
  3. มีโซสเฟียร์ (Mesosphere)
  4. แก่นโลกชั้นนอก (Outer core)
  5. แก่นโลกชั้นใน (Inner core)
1.ธรณีภาค - ประกอบด้วยเปลือกโลกทวีปและเปลือกโลกมหาสมุทร คลื่น P และ S เคลื่อนที่ช้าลงจนถึงแนวแบ่งเขตโมโฮโรวิซิก อยู่ระดับลึกประมาณ 100 km
2.ฐานธรณีภาค - อยู่ใต้แนวแบ่งเขตโมโฮโรวิซิกลงไปจนถึงระดับ 700 km 
3.มีโซสเฟียร์ - อยู่บริเวณเนื้อโลกชั้นล่างลึกประมาณ 700 - 2900 กีโลเมตร บริเวณนี้คลื่นไวสะเทือนมีความเร็วสม่ำเสมอ เนื่องจากเป็นของแข็ง
4.แก่นโลกชั้นนอก - ที่ระดับลึก 2900 - 5150 กิโลเมตร คลื่น P ลดลง คลื่น S ไม่ปรากฎ เพราะบริเวณนี้เป็นเหล็กหลอมละลาย (โลหะ)
5.แก่นโลกชั้นใน - ที่ระดับ 5150 - 6371 กิโลเมตร ที่จุดศูนย์กลางของโลก คลื่น P มีความเร็วขึ้นเนื่องจากความกดดันแรงกดดันภายใน ทำให้เหล็กเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง

การแบ่งโครงสร้างโลกตามองค์ประกอบเคมี

แบ่งออกได้เป็น 3 ชั้น ได้แก่

  1. เปลือกโลก (Crust)
  2. เนื้อโลก (Mantle)
  3. แก่นโลก (Core)
 - เปลือกโลกทวีป มี Si และ Al เป็นส่วนใหญ่ หนาเฉลี่ย 35 - 40 km บางแห่ง 70 km
 - เปลือกโลกมหาสมุทร มี Si และ Mg เป็นส่วนใหญ่ หนาเฉลี่ยน 5 - 10 km 
 - เนื้อโลก มีความลึกประมาณ 2900 กิโลเมตร องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นของแข็ง
 ส่วนบนของชั้นเนื้อโลกกับชั้นเปลือกโลก รวมเรียกว่า " ธรณีภาค" มีความหนาประมาณ 100 กิโลเมตร
 ชั้นเนื้อโลกที่มีความลึก 100-350 กิโลเมตร เรียกว่า "ชั้นฐานธรณีภาค" เป็นชั้นของหินหลอมละลาย เรียกว่า แมกมา
 - แก่นโลก แบ่งออกเป็นแก่นโลกชั้นนอก หนา 2900-5100 กิโลเมตร ประกอบด้วย เหล็กและนิกเกิลที่หลอมละลายเป็นของเหลว ส่วนแก่นโลกชั้นใน ประกอบด้วยเหล็กและนิกเกิลแต่เป็นของแข็งเพราะมีความดันอุณหภูมิสูง ประมาณ 6000 องศาเซลเซียส

วันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

หน้าแรก



Astronomy


Galaxy



Space





ประวัติ

สวัสดีโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ

เจ้าของ Blogger

ประวัติ ♥

ชื่อ นายกิตติบดินทร์   นามสกุล  โหมาศวิน 

ประวัติการศึกษา ➺ ประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนพระยาประเสริฐฯ
                           ➺ มัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนเทพลีลา

คณะ/มหาลัยที่อยากเรียน ➺ คณะทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อาชีพที่ใฝ่ฝัน ➺ ทันตแพทย์

ความภาคภมูิใจและรางวัลที่ได้รับ ➺ แข่งขันละครวันวิทยาศาสตร์ STEM