วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

บทที่ 2 "โลกและการเปลี่ยนแปลง"

ทฤษฎีการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (Plate tectotic)

  • เสนอโดย : ดร.อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Dr.Alfred Wegener) ชาวเยอรมัน 




ดร.อัลเฟรด เวเกเนอร์






  • ทฤษฎี แต่เดิมแผ่นดินบนโลกเป็นแผ่นดินผืนเดียวกัน เรียกว่า พันเจีย (Pangaea) หรือที่แปลว่า "แผ่นดินทั้งหมด" 
  • 200 ล้านปีก่อนพันเจียแยกออกเป็น 2 ทวีปใหญ่ ได้แก่ ลอเรเซีย ทางเหนือ และทวีปกอด์นาวา ทางใต้
  • ต่อมากอนด์วานาแตกออกเป็น อินเดีย อเมริกาใต้และแอฟริกา ส่วนออสเตรเลียยังคงเป็นส่วนหนึ่งของกอนด์นาวา











  • 65 ล้านปีก่อนมหาสมุทรแอตแลนติกแยกตัวกว้างขึ้น ทำให้แอฟริกาเคลื่อนตัวห่างออกจากอเมริกาใต้
  • ต่อมายุโรปและอเมริกาเหนือแยกออกจากกัน โดนอเมริกาเหนือโค้งเข้าเชื่อมกับอเมริกาใต้ และออสเตรเลียแยกออกจากแอนตาร์กติกา

หลักฐานสนับสนุนทฤษฎีของเวเกเนอร์

  • รอยต่อของแผ่นธรณีภาค รูปร่างของทวีปบางทวีปเชื่อมต่อกันได้พอดี








  • ความคล้ายคลึงกันของกลุ่มหิน และแนวภูเขา อเมริกาใต้ แอนตาร์กติกา แอฟริกา ออสเตรเลีย และอินเดีย มีหินที่เกิดในยุคคาร์บอนิเฟอรัส ถึงยุคจูแรสซิกเหมือนกัน
  • หินที่เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนจากธารน้ำแข็ง
  • ซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ พบซากดึกดำบรรพ์ 4 ชนิด คือ โซซอรัส ลีสโทรซอรัส ไซโนกาทัส และกลอสโซพเทรีส ในทวีปที่เคยเป็นกอนด์วานา







หลักฐานอื่นๆที่สนับสนุนการเคลื่อนตัวของทวีป

  • สันเขาใต้มหาสมุทร และร่องลึกใต้สมุทร
  •  อายุหินบริเวณพื้นมหาสมุทร มหาสมุทรแปซิฟิก แอตแลนติก และอินเดีย พบหินบะซอลต์ที่บริเวณหุบเขาทรุดและรอบแยกบริเวณสันเขาใต้มหาสมุทร








  • ภาวะแม่เหล็กโลกบรรพกาล (ร่องรอยสนามแม่เหล็กโลกในอดีต) ศึกษาจากหินบะซอลต์ที่มีแร่แมกนีไทต์

กระบวนการที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี

  • วงจรการพาความร้อน คือ กระบวนการที่สารร้อนภายในโลกไหลเวียนเป็นวงจร ทำให้เปลือกโลกกลางมหาสมุทรยกตัวขึ้น
  • เมื่อสารร้อนไหลเวียนขึ้นมาจะมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น และมุดลงบริเวณร่องลึกใต้สมุทร










แผ่นธรณีของโลก

1.ขอบแผ่นธรณีภาคแยกออกจากกัน - การดันตัวของแมกมาในชั้นธรณีภาค ทำให้เกิดรอยแตกในชั้นหินแข็ง เปลือกโลกตอนบนทรุดตัวกลายเป้นหุบเขาทรุด เมื่อแมกมาเคลื่อนตัวแทรกขึ้นมาตามรอยแยก ทำให้แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรเคลื่อนตัวแยกออกไปทั้งสองข้าง กระบวนการนี้เรียกว่า การขยายตัวของพื้นทะเล และปรากฎเป็นเทือกเขากลางสมุทร

2.ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนเข้าหากัน มี 3 แบบ
  • แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร เกิดเป็นแนวภูเขาไฟกลางมหาสมุทร
  • แผ่นธรณีภาคใตมหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป ทำให้แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรมุดลงใต้แผ่นธรณีภาค ภาคพืนทวีป เกิดรอยคดโค้งเป็นเทือกเขาบนแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป
  • แผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีปชนกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป ส่วนหนึ่งมุดลงอีกส่วนหนึ่งเกยกันอยู่ เกิดเป็นเทือกเขาสูง






3.ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่ผ่านกัน - เพราแต่ละแผนธรณีภาคมีอัตราการเคลื่อนที่ไม่เท่ากัน ทำให้ไถลเลื่อนผ่านมีลักษณะเป็นแนวรอยแตกแคบยาวมีทิศทางตั้งฉากกับเทือกเขากลางมหาสมุทรและร่องใต้ทะเลลึก เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในระดับตื้นๆในบริเวณภาคพื้นทวีป หรือมหาสมุทร








การเปลี่ยนแปลงลักษณะของเปลือกโลก

1.ชั้นหินคดโค้ง - คดโค้งรูปประทุน (anticline) และคดโค้งรูประทุนหงาย (synclin)












2.รอยเลื่อน คือ ระนาบรอยแตกตัดผ่านหินซึ่งมีการเคลื่อนที่ผ่านกัน และหินจะเคลื่อนที่ตามระนาบรอยแตกนั้น แบ่งเป็น 3 ประเภท









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น